速報APP / 天氣 / Hotspot เชียงราย

Hotspot เชียงราย

價格:免費

更新日期:2016-04-06

檔案大小:3.6M

目前版本:1.0.1

版本需求:Android 4.0 以上版本

官方網站:http://www.จุดความร้อน.com

Email:nuinui2000@hotmail.com

Hotspot เชียงราย(圖1)-速報App

Chiangrai Hotspot Application เป็นแอนดรอยด์แอพพลิเคชั่นทางภูมิสารสนเทศที่แสดงตำแหน่งการเกิดไฟป่า (จุดความร้อน) อ้างอิงข้อมูลตรงจากหน่วยงาน Fire Information for Resource Management System (FIRMS) ของ The Earth Observing System Data and Information System (EOSDIS) : NASA โดยทำการอัพเดทข้อมูลทุกๆ 5 นาที พร้อมกับระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ รวมไปถึงข้อมูลกราฟสถิติรายอำเภอ / ตำบล และรายละเอียดพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจุดพร้อมระบบนำทาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเครือข่ายการแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงรายอย่างเป็นรูปธรรม

Hotspot เชียงราย(圖2)-速報App

คุณสมบัติ

Hotspot เชียงราย(圖3)-速報App

- แสดงตำแหน่งการเกิดจุดความร้อน ในรูปแบบของพิกัดภูมิศาสตร์ทั้งระบบ UTM และ LAT-LONG

Hotspot เชียงราย(圖4)-速報App

- แจ้งเตือนการเกิดเหตุภายใน 5 นาทีที่ได้รับข้อมูลจาก NASA และแสดงข้อมูลวันต่อวัน

Hotspot เชียงราย(圖5)-速報App

- แยกรายละเอียดเวลาที่รับข้อมูลจากดาวเทียม และเวลาที่รับข้อมูลจากเครื่อง

Hotspot เชียงราย(圖6)-速報App

- เชื่อมโยงไปยังระบบนำทางของ Google Map

Hotspot เชียงราย(圖7)-速報App

- แสดงผลสถิติสูงสุดในรอบวัน แยกรายอำเภอและตำบล

Hotspot เชียงราย(圖8)-速報App

- แสดงรายละเอียดตารางจุดความร้อนเพื่อการติดตามตรวจสอบและควบคุมสถานการณ์ไฟป่า

Hotspot เชียงราย(圖9)-速報App

- โทรศัพท์สายด่วน

ผลการดำเนินด้วยการใช้แอพพลิเคชั่นในช่วงระหว่างวันที่ 1 - 31 มีนาคม 2559 (เป็นช่วงที่พบไฟป่ามากช่วงหนึ่งในรอบปี) ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและแก้ไขปัญหาไฟป่า ก่อให้เกิดการตระหนักของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานภาครัฐ นำไปสู่การสร้างเครือข่ายการการป้องกันปัญหาหมอกควันในระดับจังหวัดเกิดขึ้น และได้มีการนำเอาข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นดังกล่าวเชื่อมโยงข้อมูลในกลุ่ม Line ของเจ้าหน้าที่ในการร่วมกันแจ้งสถานการณ์การเกิดจุดความร้อนในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนเข้าควบคุมสถานการณ์เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควัน ส่งผลให้เกิดเครือข่ายในระดับจังหวัดที่มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและปัญหาหมอกควันอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ปัจจุบันแอพฯ นี้ได้ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าในพื้นที่ จ.เชียงราย และเป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐด้วยทางหนึ่ง

การดำเนินงานนี้เป็นส่วนหนึ่งงานวิจัยเรื่อง การสร้างเครือข่ายเพื่อการป้องกันและติดตามการเผาในพื้นที่ต้นแบบ 5 ชุมชนในจังหวัดเชียงรายด้วยระบบติดตามการเผาผ่านระบบโทรศัพท์อัจฉริยะ ได้รับทุนสนับสนุนภายใต้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) แหล่งทุน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2558